ดอยพญาพิภักดิ์
เป็นวนอุทยานแห่งชาติและแหล่งท่องเที่ยว
• ดอยพญาพิภักดิ์ เป็นยอดภูเขาสูงที่มีทิวทัศน์สวยงาม บนยอดดอยสามารถมองเห็นทะเลหมอกตอนพระอาทิตย์ขึ้น ในช่วงฤดูหนาวทางทิศตะวันออกและในวันที่ท้องฟ้าแจ่มใสสามารถมองเห็นภูชี้ฟ้าและผาตั้งได้อย่างชัดเจน ตลอดจนสามารถชมความสวยงามของแม่น้ำอิงได้ทางทิศตะวันตกในราวเดือนกุมภาพันธ์ดอกเสี้ยวจะบานทั่วทั้งดอย
เป็นสถานที่ประวัติศาสตร์
• ดอยพญาพิภักดิ์ เป็นสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ในการสู้รบระหว่างรัฐบาลกับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยจากสถานการณ์ก่อการร้ายในพื้นที่ จังหวัดเชียงราย ในปีพุทธศักราช 2497 ของพรรค คอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย ทำให้ ทหาร ตำรวจ และ พลเรือนอีกจำนวนมากที่อุทิศชีวิตเป็นราชพลี เพื่อปกป้อง ผืนแผ่นดินให้รอดพ้นจากภัยคุกคามของ ผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ จนกระทั่ง สถานที่แห่งนี้ได้มีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีและพระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าโสมสวลีพระวรราชาธินัดดามาตุ เพื่อทรงเยี่ยมทหารหาญและราษฎรในปี 2525 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาพระราชทานประทับรอยพระบาทของพระองค์ ลงบนแผ่นปูนพลาสเตอร์ที่ได้เตรียมไว้เพื่อเป็นมิ่งขวัญแก่ทหารหาญและราษฎรในพื้นที่ ณ สถานที่แห่งนี้ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์แห่งความ สันติสุขตลอดไป
ที่ตั้งและแผนที่
วนอุทยานพญาพิภักดิ์ อยู่ในท้องที่ ตำบลยางฮอม อำเภอขุนตาล จังหวัดเชียงรายอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าห้วยแดง ป่าห้วยตาล และป่าห้วยไคร้ มีเนื้อที่ประมาณ 3,750 ไร่ กรมป่าไม้ได้ประกาศจัดตั้งเป็นวนอุทยานเมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2542 มีอาณาเขตติดต่อดังนี้
ทิศเหนือ จดทาง ร.พ.ช. หมายเลข ชร. 3123
ทิศใต้ จดป่าสงวนแห่งชาติป่าห้วยแดง ป่าห้วยตาลและป่าห้วยไคร้
ทิศตะวันออก จดป่าสงวนแห่งชาติป่าห้วยแดง ป่าห้วยตาลและป่าห้วยไคร้
ทิศตะวันตก จดป่าสงวนแห่งชาติป่าห้วยแดง ป่าห้วยตาลและป่าห้วยไคร้
ขนาดพื้นที่
3750.00 ไร่
ลักษณะภูมิประเทศ
เป็นยอดเขาสูงที่มีทิวทัศน์สวยงามในเทือกเขาดอยผาหม่น สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางประมาณ 940-1,218 เมตร จุดสูงสุดคือยอดดอยขุนห้วยเจดีย์ มีความลาดชันเฉลี่ยทั่วพื้นที่ 40%
ลักษณะภูมิอากาศ
ร้อน-ชื้น
พืชพันธุ์และสัตว์ป่า
สภาพป่าเป็นป่าเบญจพรรณและพบป่าดิบเขา อยู่บ้างบริเวณยอดดอยขุนห้วยเจดีย์ ชนิดพันธุ์ไม้ที่พบได้แก่ เสี้ยวดอกขาว ก่อ หว้า เหมือด สารภี จำปีป่า จำปาป่า ส่วนพันธุ์ไม้พื้นล่าง ได้แก่ เอื้องดิน หญ้าคา หญ้าแฝก หญ้าหางหนู หญ้าสามคน หญ้าไม้กวาด หญ้าเลา มอส และเฟิร์นชนิดต่างๆ เป็นต้น
สัตว์ป่าที่พบ ได้แก่ หมูป่า อีเห็น ชะมด แมวป่า บ่าง เม่น พังพอน ค้างคาว กระรอก กระรอกบิน กระต่ายป่า กระแต เป็นต้น
การเดินทาง
รถยนต์ เดินทางจากตัวเมืองจังหวัดเชียงราย เลี้ยวซ้ายตรงสี่แยกแม่กรณ์ไปตามทางหลวงหมายเลข 1208 แล้วเลี้ยวไปอำเภอพญาเม็งราย ตามทางหลวงหมายเลข 1152 ผ่านบ้านสบเปา-อำเภอพญาเม็งราย-บ้านต้า-อำเภอขุนตาล แล้วเลี้ยวขวาตรงหลักกิโลเมตรที่ 90 ไปทางรพช. ชร. 3123 ถึงบ้านพญาพิภักดิ์แยกเข้าไปดอยพญาพิภักดิ์
บ้านพัก-บริการ
วนอุทยานพญาพิภักดิ์ ไม่มีบ้านพักหรือค่ายพักแรมบริการแก่นักท่องเที่ยว หากนักท่องเที่ยวมีความประสงค์จะไปพักแรมค้างคืนและพักผ่อนหย่อนใจ หรือศึกษาหาความรู้ทางธรรมชาติ โปรดนำเต็นท์และเตรียมอาหารไปเอง โดยทางวนอุทยานได้จัดสถานที่ไว้ให้พร้อมกับห้องสุขา ให้ไปติดต่อขออนุญาตใช้สถานที่กับเจ้าหน้าที่ที่วนอุทยานพญาพิภักดิ์โดยตรง
สถานที่ติดต่อ
วนอุทยานพญาพิภักดิ์ สำนักบริหารจัดการในพื้นที่อนุรักษ์ที่ 15 (เชียงราย) จ.เชียงราย
ต.ยางฮอม อ. ขุนตาล จ. เชียงราย 57340
โทรศัพท์ 0 5371 4914 โทรสาร 0 5374 4961
ประวัติศาสตร์ความเป็นมาของสถานการณ์ก่อการร้าย
ประวัติศาสตร์ความเป็นมาของสถานการณ์ก่อการร้าย
จากสถานการณ์ก่อการร้ายในพื้นที่ จังหวัดเชียงราย ในปีพุทธศักราช 2497 พรรค คอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย (พคท.) ได้ส่งผู้ปฏิบัติงานจำนวนหนึ่ง เข้าสู่ทางภาคเหนือ ของประเทศไทย เพื่อแสวงหาแนวร่วมพื้นฐาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งชาว ไทยภูเขาที่อาศัยอยู่ ทางแนวชายแดน ในจังหวัดเชียงรายและจังหวัดน่าน รวมทั้งพื้นที่ชายแดนด้านจังหวัด พะเยา ในปัจจุบันบางส่วน ภายหลังจากการปลุกระดมชาวไทยภูเขาบางพื้นที่ ได้ประสบผล สำเร็จในปีพุทธศักราช 2507 พคท.ได้คัดเลือกแนวร่วมบางส่วนเพื่อส่งไปอบรมวิชาการ เมืองและการทหารเป็นรุ่นแรก ที่เมืองฮิวมันต์ ประเทศสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม เพื่อ กลับมาปฏิบัติงานและเผยแพร่ลัทธิคอมมิวนิสต์ ภายในปีพุทธศักราช 2507 สมาชิก พคท. ส่วนนี้ได้กลับมาปฏิบัติหน้าที่ในการชี้นำ ด้านการเมืองและการทหารในพื้นที่จังหวัดเชียงราย เมื่อสามารถขยายเขตงานได้อย่างกว้างขวางและต่อเนื่อง พคท.จึงเปิดฉากการต่อสู้ด้วย อาวุธกับเจ้าหน้าที่ของรัฐในภาคเหนือเป็นครั้งแรก ที่บ้านน้ำปาน ตำบลนาไร่หลวง อำเภอ ทุ่งช้าง จังหวัดน่าน เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2510 ซึ่งถือเป็น วันเสียงปืนแตก การต่อ สู้รุนแรงขึ้นตามลำดับ การต่อสู้ ระหว่าง พคท. และเจ้าหน้าที่ของรัฐ ครั้งแรกที่จังหวัด เชียงราย ที่บ้านชมภู ตำบลยางฮอม อำเภอเทิง (ปัจจุบันอำเภอขุนตาล) เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2510 ซึ่งเกิดการปะทะกันในเขตพื้นที่ดอยยาว – ดอยผาหม่น นับตั้งแต่พุทธ ศักราช 2521 พคท.สามารถตั้งถิ่นฐานที่มั่นคงในภาคเหนือได้ถึง 9 แห่ง และฐานที่มั่นคงที่สำคัญแห่งหนึ่งคือ ฐานที่มั่นดอยยาว - ดอยผาหม่น อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย พคท. ได้จัดตั้งคณะ ทำงานโดยใช้ชื่อว่า คณะกรรมการจังหวัดเชียงราย เพื่อเผยแพร่ลัทธิคอมมิวนิสต์ โดยแบ่งพื้นที่ออกเป็น 4 เขตงาน หรือเขต งาน 52 เขตงาน 7 และเขตงาน 8 พื้นที่ดอยยาว – ดอยผาหม่น เป็นพื้นที่ควบคุมของเขตงาน 8 ซึ่งครอบคลุมพื้นที่อำเภอเทิง และอำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย รวมทั้งที่อำเภอเวียงแก่นและอำเภอขุนตาลในปัจจุบัน กองกำลังติดอาวุธของ พคท. ในขณะนั้นมีประมาณ 600 คน มวลชนส่วนใหญ่เป็นชาวเขาเผ่าม้ง ประมาณ 2,300 คน ความเคลื่อนไหวที่สำคัญของ กองกำลัง และมวลชนดังกล่าว คือขัดขวางการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่รัฐบาล ในการสร้างเส้นทางและพัฒนาพื้นที่ เพื่อความมั่นคงในการสู้รบระหว่าง พคท.และเจ้าหน้าที่ของรัฐ เกิดขึ้นหลายครั้ง เช่น ยุทธการอิทธิชัย (วีรกรรมดอยม่อนเคอ (หนองเตา) ยุทธการขุนน้ำโป่ง และยุทธการเกรียงไกร(วีรกรรมเนิน 1188 ดอยพญาพิภักดิ์) ) ในปี พ.ศ. 2524 กองพัน ทหารราบที่ 473 ภายใต้แกนนำของพันโท วิโรจน์ ทองมิตร ผู้บังคับกองพัน ซึ่งจัดกำลังจากกองพันทหารราบที่ 3 กรมผสมที่ 7 ได้ส่งกำลังเข้าปราบปราม ผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ (ผกค.) ในพื้นที่ ดอยยาว - ดอยผาหม่น หลายยุทธการด้วยกัน จนกระทั่งถึงยุทธการสำคัญ คือ ยุทธการเกรียงไกร (วีรกรรมเนิน 1188) บนดอยพญาพิภักดิ์ ส่งผลให้ พคท. ล่มสลาย....
บนดอยพญาพิภักดิ์ ส่งผลให้ พคท. ล่มสลายไปในที่สุดใน ห้วงการต่อสู้กับ ผกค. พื้นที่ภาคเหนือนั้น สถานการณ์ในพื้นที่ จังหวัดเชียงราย มีความรุนแรงมาก ส่งผลทำให้ ผู้ว่าราชการ จังหวัดเชียงรายและผู้กำกับการสถานีตำรวจภูธร อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย ต้องสูญเสียชีวิตในระหว่างปฏิบัติหน้าที่ บริเวณบ้านหัวกว้าน อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย การสูญเสียบุคคลสำคัญไม่ได้สิ้นสุดเพียงแค่นั้น ร้อยโททายาท คล่องตรวจโรค และร้อยโทปิยวิพากษ์ เยี่ยมยาติ ผู้บังคับหมวดปืนเล็ก จากกองพันทหารราบที่ 3 กรมผสมที่ 7 กองพันทหารราบที่ 473 ซึ่งได้ปฏิบัติหน้าที่ อย่างห้าวหาญ และเสียสละอย่างสูงสุดในการปราบปราม ผกค. ก็ต้องสูญเสียชีวิต ในการปราบปราม ผกค.ก็ต้องสูญเสีย ชีวิตพร้อมกันทั้ง 2 ท่าน นอกจากนั้นก็ยังมีข้าราชการตำรวจ และพลเรือนอีกจำนวนมากที่อุทิศชีวิตเป็นราชพลี เพื่อปกป้อง ผืนแผ่นดินให้รอดพ้นจากภัยคุกคามของ ผกค. ด้วยพระบารมี ปกเกล้าฯ แห่งองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ องค์จอมทัพไทย ได้เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้า พระบรมราชินีนาถฯ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯและพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลีฯ เพื่อทรงเยี่ยมทหารหาญ และราษฎร ณ ฐานปฏิบัติการพญาพิภักดิ์ บนดอยยาว อำเภอเทิง (ปัจจุบันอำเภอขุนตาล) จังหวัดเชียงราย ในวันที่ 27 กุมภาพันธ์ พุทธศักราช 2525 ในการเสด็จฯ ทรงเสด็จเยี่ยมทหารหาญ และพสกนิกรชาว อำเภอเทิง และอำเภอใกล้เคียง ในวโรกาสอันมิ่งมหามงคล พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าประทับรอยพระบาทของพระองค์ลง บนแผ่นปูนพลาสเตอร์ตามคำกราบบังคมทูล ขอพระราชทานพระราชานุญาต ของพันโทวิโรจน์ ทองมิตร ผู้บังคับกองพันทหาร ราบที่ 473 ณ ที่ศาลาบนดอยพญาพิภักดิ์แห่งนี้ เพื่อเป็นมิ่งขวัญแก่ทหารหาญและพสกนิกรฯ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์แห่งความ สันติสุขตลอดไป
ปัจจุบันรอย พระบาทฯ ประดิษฐานอยู่ ณ ศาลารอยพระบาท ค่ายเม็งรายมหาราช อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย ซึ่งเป็นที่เคารพสักการะ และเป็นมิ่งขวัญของกำลังพลในค่ายเม็งรายมหาราชตลอดจน ประชาชนทั่วไป
รูปภาพแห่งประวัติศาสตร์บนดอยพญาพิภักดิ์ (ปัจจุบันรูปภาพเหล่านี้จัดแสดงไว้ที่ พิพิธภัณฑ์ แสดงรูปภาพ ณ ที่ว่าการอำเภอ ขุนตาล )
ขอขอบคุณแหล่งที่มา รูปภาพ และ เนื้อหา จาก...
เว็บ เจียงฮายโฟโต้คลับ http://www.chiangraiphotoclub.com/index53.php?topic=5894.0
เว็บ เทศบาลตำบลยางฮอม http://www.yanghom.com/index.php?name=original&file=readoriginal&id=21
เว็บ สำนักอุทยานแห่งชาติ http://park.dnp.go.th/visitor/nationparkshow.php?PTA_CODE=4055
และ http://www.moohin.com/033/033m018.shtml
จัดทำโดย นาย ชาญนุพงศ์ อินทจักร์ รหัส 521137027
นาย อดิศักดิ์ อินต๊ะชัย รหัส 521137044
นักศึกษา เอก เทคโนโลยีการศึกษา
มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย